วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้"พยอม "


พะยอม



พะยอม เป็นไม้ยืนต้นประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, และ เวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน
(พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กะยอม)

ลักษณะทั่วไปของดอกพยอม
พะยอมเป็นไม้ต้นสูง 15 - 30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนานกว้าง 3.5 - 6.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 15เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้นๆ โคนมน ขอบเป็นคลื่นผิวเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัดออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันกลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกันแบบกังหันเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 2 เซนติเมตร เกสร ตัวผู้ 15 อัน ผลรูปรีกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาว 3 ปลีกสั้น 2 ปลีกคล้ายผลยาง

พะยอมมีการกระจายพันธุ์ในอินเดียตะวันออก พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย พบขึ้นทั่วไป แต่มักพบในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบที่มีดินเป็นดินทราย

ประโยชน์
เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น
มีสรรพคุณทางยา
เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูดดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้
ดอกพะยอม
ต้นพะยอมเป็นต้นไม้สำคัญของเส้นทางในอดีต จากสายโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ไปจนถึงวัดสวนดอก
ดอกพะยอมเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดพัทลุง
ต้นพะยอมเป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดอกพะยอมเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ดอกไม้หายาก"พวงหยก"


พวงหยก


ชื่อวิทยาศาสร์ Strongylodon macrobotrys.
ตระกูล LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Jade Vine.


ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น -พวงหยกเป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง เถามีสีน้ำตาลเข้ม มักเลื้อยไปตามหลักต่าง ๆ หรือตามกำแพง
แล้วจะทิ้งต้นย้อยลงมา แลดูสวยงาม จึงนิยมปลูกพวงหยกบริเวณริมกำแพง ซุ้มประตู หรืออาจ
เป็นซุ้มที่นั่งเล่น หรือซุ้มในสวนสาธารณะ

ใบ  - ลักษณะของใบเป็นใบประกอบที่มีขนาดใหญ่ ใบมีความกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และยาว
ประมาณ 13 เซนติเมตร ใบจะออกสลับซ้าย - ขวา ไปตลอดกิ่ง และใบหนึ่งก้านใบ จะมีใบย่อย
3 ใบ ใบจะค่อนข้างรี มีปลายใบและโคนใบแหลม

ดอก  - ลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อแล้วห้อยลง ดอกมีสีเขียวหยกดอกจะเริ่มทยอยบานจากบริเวณ
โคนช่อก่อน ลักษณะของตัวดอกนั้นจะคล้ายกับดอกแค แต่ดอกพวงหยกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอก
แต่ละดอกจะมีก้านดอกยึดติดกับแกนของช่อรวมกันเป็นพวง มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประ
ฆังส่วนกลีบดอกนั้นจะแบน ภายในหนึ่งดอกจะมี 5 กลีบ มีขนาด ต่าง ๆ มีเกสรตัวผู้อยู่กลางดอก
10 กัน ช่อดอกที่สมบูรณ์มีความยาวประมาณ 65-70 เซนติเมตร
- พวงหยก ออกดอกในช่วงฤดูหนาว

ปลูกโดยการใช้เมล็ด จะต้องนำเมล็ดของพวงหยกมาเพราะในกะบะเพาะ เมื่อเมล็ดแตกเป็นต้นอ่อนมีใบแท้ 2 ใบ ก็ให้ย้ายต้นอ่อนลงถุงกระดาษ ขนาดเล็กถุงละ 1 ต้น ช่วงแรกให้วางต้นกล้าไว้ในที่ร่มสัก 2 วัน แล้วจึงค่อยนำถุงต้นกล้าออกวางให้ได้รับแสงแดดบ้าง จนได้รับแสงแดดเต็มที่ ต้นกล้าก็จะมีใบเพิ่มขึ้นเป็น 4-6 ใบ หรือประมาณ2 สัปดาห์ ก็สามารถนำต้นกล้าลงปลูกในบริเวณที่ต้องการได้การปลูกให้ขุดหลุมปลูก ขนาดกว้าง ลึกประมาณ 1 x 1 ฟุต

การดูแลรักษา
พวงหยกเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดพอสมควร จึงเหมาะที่จะปลูกในบริเวณที่แสงแดดส่องได้ถึงหรืออาจจะปลูกบริเวณรั้วบ้านก็ได้
พวงหยกต้องการน้ำปานกลาง การให้น้ำควรให้วันละครั้ง ในตอนเช้าก็เพียงพอแล้ว  และ ดินที่จะใช้ปลูกพวงหยก มักจะเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี หรือไม่เป็นดินเหนียวที่อุ้มน้ำไว้มากเกินไป ปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักมากกว่าปุ๋ยเคมี แต่หากจะใช้ปุ๋ยเคมีก็ให้ใช้ปุ๋ยสำหรับไม้ดอกก็ได้

การขยายพันธุ์
พวงหยกมีวิธีการขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง

ดอกไม้หายาก"ชมพูภูคา"

ชมพูภูคา

 

ดอกชมพูภูคา พันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งพบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน"
ดอกชมพูภูคามี     ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Bretschneidera sinensis  วงศ์ : Bretschneideraceae
  ชมพูภูคาเป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม
พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ลักษณะทั่วไป
ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,980 เมตร ดอยภูคานับเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบางและเป็นยอดดอยที่สูงในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากสภาพดังกล่าวนี้ทำให้เทือกดอยภูคา มีลักษณะโดดเด่น ในด้านระบบนิเวศของพืชพรรณภูเขาสูงอันอุดมไปด้วยป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้นรวมทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านอีกด้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่สุดและพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่นี่คือ ชมพูภูคา ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มณฑลยูนานประเทศจีนแต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อ พ.ศ. 2532 บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยลักษณะต้นชมพูภูคานี้จะสูงประมาณ 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ออกดอกประมาณเดือกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า พันธุ์ไม้ชนิดนี้จากการศึกษาพบว่าจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดงดิบเขาตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป และมีความชื้นของอากาศสูงอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั่งปี ปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาจากเมล็ดเป็นผลสำเร็จซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ชมพูภูคาไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้ต่อไป



ดอกไม้หายาก"Rafflesia arnoldii"

Rafflesia arnoldii



Rafflesia arnoldii    ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตรยาวประมาณ 42นิ้วตามนอน มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่ที่รู้จักกันทั่วไปคือ Rafflesia arnoldii  ที่จัดได้ว่าใหญ่ที่สุดในโลกจริงๆถึงสามฟุตทีเดียว
  ชื่อดอกไม้ชนิดนี้ได้มาจากนักเดินทางคนหนึ่ง ตามชื่อของเขา เป็นกาฝากชนิดหนึ่งที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก

ซึ่งลักษณะ เป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่มชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ยามที่มันออกดอกสีปูนแดงสดใสอยู่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า "บัวตูม" จริงๆแล้วเป็นพืชกาฝาก ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้เลื้อยวงศ์องุ่นป่า ชื่อ "ย่านไก่ต้ม" โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจนเท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องได้เวลาเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบาน แมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์

ในเมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชมกันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะเดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีต ในการสูญเสียบัวผุดที่ควนลูกช้าง เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอกขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดตาย และสาบสูญไปจากควนลูกช้าง แม้ปัจจุบันบัวผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้องก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจทีเดียว อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษาดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มีการลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัวผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอันจะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

ดอกไม้หายาก"ดอกกัลปพฤกษ์"

ดอกกัลปพฤกษ์

กัลปพฤกษ์ หมายถึง ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จตามความปรารถนา


ดอกกัลปพฤกษ์   มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Cassia bakeriana Craib)ลักษณะเป็นดอกสีชมพู ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่มีฝักยาว

-กัลปพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเก็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร

-คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นกัลปฟฑกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้าเพราะต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณดังนั้นต้นกัลปพฤกษ์จึงเป็นไม้มงคลนาม

-นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ควรปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ ขนาดของหลุมที่จะปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ควรจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน ในอัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก